กิจกรรมที่ 6 “การแยกสารผสมในหมึกปากกาด้วยโครโตกราฟี”
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ข้อมูลทั่วไปของกิจกรรม
ชื่อกิจกรรม | การแยกสารผสมในหมึกปากกาด้วยโครโตกราฟี |
วัน – เวลาที่จัดกิจกรรม | วันเสาร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09:00 น. – 12:00 น. |
สถานที่ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม | โถงชั้น 1 อาคารทวี ญาณสุคนธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) |
การแต่งกาย | ชุดสุภาพ กางเกงขายาว |
หน่วยงานผู้จัดกิจกรรม | ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในนามของ โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ศูนย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
จำนวนที่นั่งที่รับได้ | 50 ที่นั่ง ตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ ที่นี่ |
เงื่อนไขผู้สมัคร | นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 4-6) |
วิธีการสมัคร | ผ่านเว็บไซต์เท่านั้น เริ่มรับสมัคร วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป คลิกที่นี่ |
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม | ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ |
หลักการและความสำคัญ
1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเทคนิคโครโตกราฟีเบื้องต้น
2. เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจทฤษฏีการผสมสี
3. เกิดกระบวนการคิดสามารถนำไปต่อยอดในการใช้แยกสารชนิดต่างๆนอกจากในหมึกปากกา
สารประกอบในสีหลายชนิดเป็นองค์ประกอบสำคัญในปากกาหมึก ซึ่งเกิดจากการผสมสีต่างๆเข้าด้วยกัน แต่จากภายนอกจะไม่เห็นความแตกต่างขององค์ประกอบของสีได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นเทคนิคทางชีวเคมี ที่เรียกว่า “โครมาโตกราฟี” สามารถนำมาใช้ในการแยกสารผสมที่มีสีหรือสารที่ทำให้เกิดสีได้ โดยอาศัยการเคลื่อนที่ของเฟสที่อยู่กับที่กับเฟสเคลื่อนที่ ซึ่งเฟสคงที่ เช่น กระดาษกรอง เป็นตัวดูดซับ เมื่อหยดสารละลายของสารผสมที่ต้องการแยกบนเฟสคงที่แล้ว จากนั้นนำไปจุ่มกับตัวทำละลาย อาทิ น้ำ หรือตัวทำละลายชนิดอื่นๆ จากนั้นตัวทำละลายจะพาเอาองค์ประกอบในสารผสมนั้นไปด้วยในอัตราเร็วที่ต่างกันขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายของสารนั้น สารที่ละลายได้ดีกว่าจะถูกดูดซับได้น้อย ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสารที่ละลายได้น้อยในตัวทำละลาย
รูปแบบกิจกรรม
การทดลอง ให้นักเรียนหยดหมึกซึ่งใช้เป็นตัวอย่างสารผสมลงบนกระดาษกรองที่เตรียมไว้ จากนั้นจุ่มลงในบีกเกอร์ที่มีตัวทำละลายที่กำหนดให้ สังเกตการแยกของสารละลายผสมและการเคลื่อนที่ จากนั้นทำการอภิปรายผลการทดลองร่วมกับผู้ดูแลการทดลอง
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ส่วนประกอบ การประกอบ การควบคุมหุ่นยนต์ และความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น การทดลอง ให้นักเรียนหยดหมึกซึ่งใช้เป็นตัวอย่างสารผสมลงบนกระดาษกรองที่เตรียมไว้ จากนั้นจุ่มลงในบีกเกอร์ที่มีตัวทำละลายที่กำหนดให้ สังเกตการแยกของสารละลายผสมและการเคลื่อนที่ จากนั้นทำการอภิปรายผลการทดลองร่วมกับผู้ดูแลการทดลอง วัตถุประสงค์ของกิจกรรม กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ส่วนประกอบ การประกอบ การควบคุมหุ่นยนต์ และความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
กำหนดการ
วันเสาร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09:00 น. – 12:00 น.
08:30 น. ‒ 09.00 น. | ลงทะเบียน ณ อาคารทวี ญาณสุคนธ์ |
09.00 น. ‒ 12.00 น. | บรรยายกิจกรรมแบ่งกลุ่มย่อย ณ ห้องปฏิบัติการ ห้อง 511 ชั้น 5 |
หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม