กิจกรรมที่ 1 “เปิดโลกรังสี”
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ข้อมูลทั่วไปของกิจกรรม
ชื่อกิจกรรม | เปิดโลกรังสี |
วัน – เวลาที่จัดกิจกรรม | วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09:00 น. ‒ 12:00 น. |
สถานที่ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม | ชั้น 3 อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) |
การแต่งกาย | ชุดสุภาพ กางเกงขายาว |
หน่วยงานผู้จัดกิจกรรม | ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในนามของ โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ศูนย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
จำนวนที่นั่งที่รับได้ | 50 ที่นั่ง ตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ ที่นี่ |
เงื่อนไขผู้สมัคร | นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 4-6) |
วิธีการสมัคร | ผ่านเว็บไซต์เท่านั้น เริ่มรับสมัคร วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป คลิกที่นี่ |
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม | ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ |
หลักการและความสำคัญ
กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติ แหล่งกำเนิด การใช้ประโยชน์และการป้องกันรังสีต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น รังสีแกมม่า (gamma ray) รังสีเอ็กซ์ (x-ray) เบต้า (beta) และแอลฟา (Alpha) โดยนักเรียนจะได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายทฤษฎีเบื้องต้นด้านรังสีและร่วมทำการทดลองด้านรังสี ร่วมกับคณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รูปแบบกิจกรรม
แนะนำให้นักเรียนรู้จักทฤษฎีเกี่ยวกับรังสีเบื้องต้นและร่วมทำการทดลองด้านรังสี โดยศึกษาการเคลื่อนที่ของอนุภาคแอลฟาในสนามแม่เหล็กจากเครื่อง cloud chamber และการทดสอบการดูดกลืน/กำบังรังสีของวัตถุต่างๆ
กำหนดการ
วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563
08:30 น. – 09.00 น. | ลงทะเบียน ณ ชั้น 3 อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ 45 ปี |
09.00 น. – 09.30 น. | กล่าวตอนรับและเปิดโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ครั้งที่ 6 และบรรยายเรื่อง “เปิดโลกรังสี” |
09.30 น. – 10.30 น. | กลุ่ม 1: ศึกษาการเคลื่อนที่ของอนุภาคแอลฟาในสนามแม่เหล็กจากเครื่อง cloud chamber กลุ่ม 2: ทดสอบการดูดกลืน/กำบังรังสีของวัตถุต่างๆ |
10.30 น. – 10.45 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
10.45 น. – 12:00 น. | กลุ่ม 1: ทดสอบการดูดกลืน/กำบังรังสีของวัตถุต่างๆ กลุ่ม 2: ศึกษาการเคลื่อนที่ของอนุภาคแอลฟาในสนามแม่เหล็กจากเครื่อง cloud chamber |
หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม